เมื่อ : 27 ก.ค. 2566 , 104 Views


​เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ที่ห้องประชุม The Siam Ballroom โรงแรม Lancaster Bangkok Hotel กรุงเทพฯ พญ.มิ่งขวัญ  สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมโครงการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมใหม่ขององค์การเภสัชกรรม (GPO Ignite Program) รุ่นที่ 2 โดยกิจกรรมดังกล่าวมีวิทยากรร่วมให้ความรู้ด้านนวัตกรรมมากมาย ประกอบด้วย ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ประธานคณะทำงานผู้ประเมินโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ ดร.ภญ.นันทกาญจน์  สุวรรณปิฎกกุล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม และอ.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโชและคณะ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ คณะทำงาน  ผู้ประเมินโครงการพัฒนานวัตกรรม เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ องค์การเภสัชกรรม และมีทีมพัฒนานวัตกรรม  ที่ได้รับการคัดเลือก ร่วมรับฟัง

 


​ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรม ได้ริเริ่มโครงกำร GPO Ignite Program ขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมและต่อยอด โครงการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทขององค์กำรเภสัชกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต โดยในปัจจุบันองค์การฯ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมทั้งด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และธุรกิจ นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนายาและเครื่องสำอาง การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 การวิจัยและ พัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในหลากหลายรูปแบบ การก่อตั้งโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็ง การพัฒนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสัตว์ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One health concept รวมถึงยังได้ส่งเสริมนวัตกรรมภายในองค์กร ผ่านโครงการ WOW award โดยให้หน่วยงานภายในนำเสนอโครงการ นวัตกรรม เพื่อคัดเลือกโครงการที่น่าสนใจนำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมองค์กร


พญ.มิ่งขวัญ กล่าวต่อไปว่า โครงการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมแบบเข้มข้น GPO Ignite Program ปีที่ 2  ได้รับความสนใจจากกลุ่ม start up สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 48 โครงการ และ ได้มีการ Pitching คัดเลือกทีมเข้าสู่โครงการบ่มเพาะ GPO Ignite Program 

จำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย  

1.โครงการอุปกรณ์ฟื้นฟูแขนแบบสองข้างพร้อมกันด้วยกลไกตรวจจับการออกแรง ซึ่งเป็นนวัตกรรมอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพแขนเจ้าแรกของไทยเพื่อคนไทยเข้าถึงได้เพิ่มโอกาสฟื้นฟูประสิทธิภาพและทันท่วงที   จาก บริษัท เกรท เทค แอนด์ อินโนเวชั่น จำกัด 

2.โครงการ NPI ระบบควบคุมแรงกดเฉพาะบุคคลแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Pressure ReBalancing ช่วยควบคุมแรงกด ส่งข้อมูลแบบออนไลน์และควบคุมแบบ Real time ใช้งานเชิงพาณิชย์แล้วในหลายโรงพยาบาล และกำลังขยายผลสู่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ จาก บริษัท เฟมเม เวิร์ค จำกัด 

3.โครงการไม้เท้าอัจฉริยะ ซี่งเป็นไม้เท้าที่เชื่อมกับแอปพลิเคชันส่งข้อมูลสุขภาพจากผู้ใช้ถึงผู้ดูแล(HIAAS) สามารถตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต และตำแหน่ง จากบริษัท เทค แคร์ ซิสเตม จำกัด        4.โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบแพทย์ปฐมภูมิ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นพัมนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ จากบริษัท ด๊อกเตอร์อาสาเฮลท์ จำกัด 5.โครงการสารสกัดโนบิทเทอร์แคล ซึ่งเป็นสารสกัดจากผักเคล เพื่อช่วยควบคุมระดับไขมันและน้ำตาล จากบริษัท โนบิทเทอร์ จำกัด 6.โครงการครีมนาโนสมุนไพรไทยกัญญ์ เฮิร์บ โดยกัญญ์ เฮอร์เบิล นูริชชิ่ง บอดีครีม อานุภาคนาโนสารสกัดสำคัญสมุนไพรไพล ขมิ้นชัน เพื่อพัฒนาเป็นยา ของบริษัทกัญญ์ เฮิร์บ(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งทั้ง 6 โครงการ จะได้รับการประเมินความเป็นไปได้ในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ และการพิจารณาความร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมต่อไป


​“องค์การเภสัชกรรมจะเป็นจุดเชื่อมสำคัญระหว่างผู้ประกอบการ start up และหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร ในการพัฒนานวัตกรรม  ให้มีศักยภาพและยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรม ด้านการแพทย์และสุขภาพของไทย ให้เติบโตทัดเทียมนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน” ผู้อำนวยการฯ กล่าว

 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ